Red Glittery Cute Ribbon Bow Tie

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

     ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 
 ความหมายคณิตศาสตร์  วิชาที่ว่าด้วยการคำนวณทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การนับ การประมาณ มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของมนุษย์ เด็กใช้คณิตศาสตร์อย่างง่ายจากความคิดของตนนแล้วค่อยๆพัฒนาถึงความคิดแบบคณิตศาสตร์อย่างถูกต้อง

 ความสำคัญของคณิตศาสตร์  เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ เกี่ยวข้องกับการคิดที่มีเหตุผล พิสูจน์ได้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกการคิดอย่างมีระบบและวิธีการ สร้างสรรค์คนให้มีนิสัยละเอียดรอบคอบ

 ประโยชน์ของคณิตศาสตร์  ใช้ในชีวิตประจำวันให้มีประสิทธิภาพ คณิตศาสตร์เป็นเรื่องนามธรรมที่อาศัยสัญลักษณ์แทนนามธรรม ภาษาคริตศาสตร์จะนำเด็กไปสู่ความเข้าใจโลกและสรรสิ่งต่างๆรอบตัว

 ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  กระบวนการทางความคิดและการพัฒนาความสามารถด้านต่างๆ ประกอบไปด้วย 
     1)การนับ(Counting) เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก การนับอย่างมีความหมาย การนับตามลำดับ ตั้งแต 1-10 หรือมากกว่า
     2)ตัวเลข(Number) เป็นการให้เด็กรูจักตัวเลขที่เห็น หรือใช้ในชีวิตประจำวัน เล่นของเล่นที่เกี่ยวกับตัวเลข นับและคิดเองโดยครูเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม อาจมี การเปรียบเทียบด้วย เช่น มากกว่า น้อยกว่า
     3)การจับคู่(Matching) เป็นการฝึกฝน รูจักสังเกตลักษณะ จับคู เหมือนกัน หรืออยูประเภทเดียวกัน
     4)การจัดประเภท(Classification)  ให้รูจักการสังเกต  คุณสมบัติสิ่งรอบตัว ในเรื่องของ เหมือนกันหรือแตกต่างกันในบางเรื่อง การจัดประเภท
     5)การเปรียบเทียบ(Comparing) ตองมีการสืบเสาะและหาความสัมพันธ์ ของสองสิ่ง รู้มากกวา น้อยกว่า ยาว สั้น เบา หนัก
     6)การจัดลำดับ(Ordering) การจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตาม คําสั่ง หรือตาม กฎ เชน จัดบล็อก แทง ที่มีความยาวไมเท่ากัน เรียงลําดับจากสูงไปต่ำ สั้นไปยาว
     7)รูปทรงหรือเนื้อที่(Shape and Space) นอกจากใหเด็กไดเรียนรูเรื่องรูปทรง และเนื้อที่จากการเลนตามปกติแลว ครูยังตองจัดประสบการณใหเด็กไดเรียนรูเกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผา ความลึกตื้น กวางแคบ 
     8)การวัด(Measurement) ใหเด็กลงมือวัดดวยตนเอง ใหรูจักความยาว และระยะ รูจักการชั่งน้ำหนัก และรูจักประมาณคราว ๆ
     9)เซต(Set) การสอนเรื่องเซต จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับ สภาพรวม เชน รองเทา กับ ถุงเทา หองเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเปนเซต คือ นักเรียน ครูประจําชั้น ครูชวยสอน เปนตน
    10)เศษส่วน(Fraction) สอนความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งเนนสวนรวม (The Whole Object) ใหเด็กเห็นก่อนมีการลงมือ ปฏิบัติเพื่อให้เด็กไดเขาใจความหมายครึ่ง
    11)การทำตามแบบหรือลวดลาย(Patterning) เปนการพัฒนาใหเด็กจดจํารูปแบบ หรือลวดลาย จําแนกดวยสายตา การสังเกต ฝกทําตามแบบและลากตอจุด ใหสมบูรณ
    12)การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ(Conservation)  ชวงวัย ขวบ ขึ้นไป ครูอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษไดบาง โดยใหเด็กไดลงมือปฏิบัติจริง จุดมุงหมายของการสอนเรื่อง คือเด็กไดมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษที่วา จะยายที่หรือทําใหมีรูปรางเปลี่ยนไปก็ตาม

♦ ความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ → เป็นพื้นฐานในการแก้ปัญหา มีความสามารถในการคิดคำนวณ ช่วยให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์เบื้องต้น ได้แก่ การสังเกตเปรียบเทียบ

♦ แนวทางในการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ 
     1)ศึกษาและทำความเข้าใจหลักสูตร เพื่อให้ทราบวัตถุประสงค์ ขอบข่ายของเนื้อหาวิธีการสอน วิธีการจัดกิจกรรม การใช้สื่อการเรียนการสอน การประเมินผล เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ถูกต้อง
     2)ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆความต้องการและความสามารถของเด็กปฐมวัย เพื่อจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนาการความต้องการ ความสนใจและความสามารถของเด็ก

การประเมิน

ตนเอง ค่อนข้างเข้าใจทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์มากยิ่งขึ้น
อาจารย์ สามารถอธิบายสิ่งที่ยากๆให้นักศึกษาเข้าใจได้อย่างง่ายดาย
สภาพแวดล้อม ห้องเรียนมีแสงสว่างเหมาะแก่การเรียน บรรยากาศในห้องเรียนไม่เครียดมากจนเกินไป

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ.2560

ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว
ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเพียเจต์
- เด็กแรกเกิดจนถึง2ปีแรกจะมีพัฒนาการอยู่ในขั้นที่ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5ในการเก็บข้อมูลเป็นอย่างมาก ซึ่งการที่เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 เช่น ใช้มือสัมผัสกับสิ่งของต่างๆรอบตัว ใช้หูฟังเสียงต่างๆที่ได้ยินถือเป็นการที่เด็กได้ซึมซับข้อมูลต่างๆเข้าสู่สมอง
- ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล 2-7ปี
ช่วง2-4ปี เด็กจะสามารถใช้ภาษาได้เพียงสั้นๆ ยังไม่สามารถใช้เหตุผลได้ดีมากนัก
ช่วง4-6ปี เด็กสามารถใช้ภาษาได้ยาวมากขึ้น มีการใช้เหตุผลได้ดีมากขึ้น
  การอนุรักษ์(Conservation) คือ การที่เด็กตอบตามที่ตาเห็น โดยที่ยังไม่ใช้เหตุผลและสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย 

    1.การพับ
    2.การจับคู่1ต่อ1
    3.การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร
    4.เรียงลำดับ
    5.จัดกลุ่ม

ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของบรูเนอร์
- ขั้นการเรียนรู้จาการกระทำ คือ เด็กจะใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5รับรู้สิ่งต่างๆโดยการลงมือกระทำ เพื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดี
- ขั้นเรียนรู้จากความคิด คือ เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
- ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม คือ  เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้

ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของไวก๊อตสกี้
      ทฤษฎีของเขาเชื่อว่า เด็กได้รับการสนับสนุนโดยผู้อื่นผ่านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เด็กจะเข้าหาผู้ใหญ่เพื่อพัฒนาทางสังคมตั้งแต่แรกเกิด แล้วพัฒนาการก็เกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์เหล่านี้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสภาพแวดล้อมของเขาและของเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน เมื่อกระบวนการเหล่านี้ เกิดจากภายในก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จจากพัฒนาการของเด็ก 
      แนวความคิดหนึ่งที่มีความสำคัญที่สุดก็คือ เด็กกำลังเริ่มจะก้าวข้ามไปและประสบความสำเร็จในระดับที่สูงขึ้นด้วยความช่วยเหลือของผู้อื่นที่มี“สมรรถนะ”มากกว่า โดยการหารือหรือสนทนาระหว่างครูกับเด็กหรือการสนทนาระหว่างผู้ปกครองกับเด็ก
     ไวก็อตสกี้พูดถึง“นั่งร้าน”ว่า คือการสนับสนุนของผู้ใหญ่ที่ทำให้เด็กสามารถทำงานสำเร็จได้ ในสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ตามลำพัง เช่น ผู้ใหญ่ช่วยเหลือเด็กวัยเตาะแตะให้เรียนรู้วิธีการเดิน

สรุปจากพัฒนารการด้านสติปัญญาของไวก็อตสกี้ คือ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและความร่วมมือจึงเป็นส่วนผสมสำคัญในกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก
  
และเมื่อเรารู้ถึงพัฒนาการของเด็กแล้วเราก็ควรเลือกเนื้อหาให้เหมาะสมกับทักษะที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก

             ■ ความหมายและประโยชน์ของการเรียนรู้
    - การเรียนรู้ คือ กระบวนการของประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
    - การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อการอยู่รอดในสังคม
    - เครื่องมือของเด็กในการเรียนรู้ คือ ประสาทสัมผัสทั้ง5 ใช้ในการเก็บข้อมูลส่งต่อสู่สมองเพื่อให้สมองซึมซับรับรู้
    - เส้นประสบการณ์ที่ซึมซับเก็บไว้หากมีประสบการณ์ใหม่ที่สอดคล้องกับประสบการณ์เส้นเดิมหรือมีสิ่งใหม่ที่แตกต่างเกิดขึ้น สมองก็จะปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่

*หากเด็กเอาความรู้ใหม่ออกมาใช้ด้วยพฤติกรรมใหม่ แสดงว่าเด็กเกิดการเรียนรู้ใหม่*

เพลงที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์

เพลง ขวดห้าใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดสี่ใบวางอยู่บนกำแพง
(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนหมด)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง

เพลง เท่ากัน-ไม่เท่ากัน
ช้างมีสี่ขา        ม้ามีสี่ขา
คนเรานั้นหนา      สองขาต่างกัน
ช้างม้ามีขา         สี่ขาเท่ากัน
แต่กับคนนั้น       ไม่เท่ากันเอย

เพลง บวก-ลบ
 บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ         ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ       ดูซิเธอรวมกันได้เจ็กใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ       หายไปสามใบนะเธอ
 ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ       ดูซิเธอเหลือเพียงแค่สี่ใบ

รประเมิน
 ตนเอง ชอบการเรียนการสอนที่มีเพลงเข้ามามีส่วนร่วมมากๆ ทำให้เกิดความรู้สึกสนุกสนาน
 อาจารย์ อาจารย์มีวิธีการผ่อนคลายให้นักศึกษาในระหว่างที่เรียนจึงทำให้นักศึกษาไม่ตึงเครียดจนเกินไป และสามารถอธิบายเนื้อหายากๆให้นักศึกษาเข้าใจได้อย่างละเอียด
 สภาพแวดล้อม บรรยากาศในห้องเรียนค่อนข้างผ่อนคลายไม่ตึงเครียดจนเกินไป

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ.2560

     สัปดาห์นี้อาจารย์ได้แจกCourse Syllabusหรือแผนการสอนให้กับพวกเราและได้อธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเราจะได้เรียนในแต่ละสัปดาห์และได้บอกเกณฑ์การให้คะแนนงานต่างๆพร้อมทั้งอธิบายคำว่าการเล่นของเด็กคืออะไร "การเล่นของเด็ก คือ การลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5โดยที่เด็กเป็นผู้เลือกอย่างอิสระ" ซึ่งการเล่นของเด็กปฐมวัยถือเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดและการเล่นนั้นต้องเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก การที่เด็กชอบที่จะวิ่งเล่นซุกซนหรือชอบเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลานั้นเป็นเพราะลำดับช่วงพัฒนาการของตัวเขาเองซึ่งมิใชเป็นเรื่องผิดปกติแต่อย่างใด
   
     พัฒนาการของเด็กมีประโยชน์อย่างไร?
- แสดงออกถึงการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของเด็กอย่างต่อเนื่องโดยเป็นขั้นตอน
- แสดงถึงความสามารถของเด็ก

     และเมื่อคุณครูรู้ถึงพัฒนาการของเด็กแล้วนั้นคุณครูก็จะสามารถจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กเพื่อช่วยส่งเสริมส่วนที่ดีอยู่แล้วนั้นให้ดีมากยิ่งขึ้นและช่วยแก้ไขในส่วนที่เป็นจุดด้อยให้พัฒนายิ่งๆขึ้นไป

ทฤษฎีพัฒนาการของเพียเจต์
- เด็กแรกเกิดจนถึง2ปีแรกจะมีพัฒนาการอยู่ในขั้นที่ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5ในการเก็บข้อมูลเป็นอย่างมาก ซึ่งการที่เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 เช่น ใช้มือสัมผัสกับสิ่งของต่างๆรอบตัว ใช้หูฟังเสียงต่างๆที่ได้ยินถือเป็นการที่เด็กได้ซึมซับข้อมูลต่างๆเข้าสู่สมอง
- ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล 2-7ปี
ช่วง2-4ปี เด็กจะสามารถใช้ภาษาได้เพียงสั้นๆ ยังไม่สามารถใช้เหตุผลได้ดีมากนัก
ช่วง4-6ปี เด็กสามารถใช้ภาษาได้ยาวมากขึ้น มีการใช้เหตุผลได้ดีมากขึ้น
  การอนุรักษ์(Conservation) คือ การที่เด็กตอบตามที่ตาเห็น โดยที่ยังไม่ใช้เหตุผล

การประเมิน
 ตนเอง มีการตอบคำถามอาจารย์มากยิ่งขึ้น เข้าใจคำว่าพัฒนาการได้อย่างกระจ่าง ตอนเรียนอาจจะมีอาการยุกยิกบ้างเนื่องจากต้องนั่งเรียนเป็นเวลานาน ช่วงท้ายๆคาบมีพูดคุยกับเพื่อนบ้างเล็กน้อย
 อาจารย์ อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษาและมีการเตรียมพร้อมในการมาสอนมาก สามารถอธิบายเนื้อหาในส่วนต่างๆให้นักศึกษาเข้าใจอย่างกระจ่าง
 สภาพแวดล้อม มีแสงสว่างเหมาะกับการเรียนการสอน ห้องไม่กว้างและไม่แคบจนเกินไปทำให้รู้สึกปลอดโปร่ง

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

วันพุธที่ 4  มกราคม พ.ศ.2560

      สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกที่ทำการเรียนการสอน อาจารย์ได้ให้คำอธบายเกี่ยวกับรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์และอธิบายสำคัญจากชื่อวิชาให้เราฟังว่าประกอบไปด้วยคำว่าอะไรบ้าง เมื่อวิเคราะห์ออกมาจากชื่อวิชาแล้วนั้นจะเห็นได้ว่ามีคำสำคัญทั้งหมด 3คำ ได้แก่ การจัดประสบการณ์ คณิตศาสตร์และเด็กปฐมวัย โดยมีเด็กปฐมวัยเป็นเป้าหมายสำคัญและมีคณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่อยากให้เด็กได้เรียนรู้และหนทางที่จะทำให้เด็กได้เรียนรู้คือการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก นอกจากนั้นยังได้เรียนรู้ถึงความหมายของพัฒนาการเด็กโดยอาจารย์ได้อธิบายให้เราเข้าใจอย่างง่ายๆว่า 
"พัฒนาการ คือ ความสามารถของเด็กที่เปลี่ยนแปลงไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่องโดยมีอายุเป็นตัวกำกับ"  วิธีการเรียนรู้ทำให้เกิดการเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5และเมื่อเด็กเกิดการเรียนรู้จะทำให้พฤติกรรมของเด็กเปลี่ยนแปลงไปตามขั้นตอน ดังนั้นครูจึงต้องออกแบบแผนการสอนให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก

การประเมิน

 ตนเอง ยังไม่ค่อยกล้าตอบคำถามอาจารย์เท่าไหร่เพราะยังไม่ค่อยมั่นใจในคำตอบแต่ก็จะพยายามตั้งใจเรียนและจะพยายามตอบคำถามให้มากยิ่งขึ้น
อาจารย์ มีความตั้งใจในการสอนนักศึกษาเป็นอย่างยิ่ง สามารถอธิบายเนื้อหาต่างๆในนักศึกษาเข้าใจได้อย่างถ่องแท้
สภาพแวดล้อม ห้องเรียนค่อนข้างสว่างทำให้น่าเรียนแต่ติดตรงที่ห้องเรียนมีส่วนที่เป็นกระจกใสมองออกไปข้างนอกห้องเรียนได้จึงทำให้ไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียนเท่าไหร่