วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ.2560
ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว
ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเพียเจต์
- เด็กแรกเกิดจนถึง2ปีแรกจะมีพัฒนาการอยู่ในขั้นที่ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5ในการเก็บข้อมูลเป็นอย่างมาก ซึ่งการที่เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 เช่น ใช้มือสัมผัสกับสิ่งของต่างๆรอบตัว ใช้หูฟังเสียงต่างๆที่ได้ยินถือเป็นการที่เด็กได้ซึมซับข้อมูลต่างๆเข้าสู่สมอง
- ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล 2-7ปี
ช่วง2-4ปี เด็กจะสามารถใช้ภาษาได้เพียงสั้นๆ ยังไม่สามารถใช้เหตุผลได้ดีมากนัก
ช่วง4-6ปี เด็กสามารถใช้ภาษาได้ยาวมากขึ้น มีการใช้เหตุผลได้ดีมากขึ้น
การอนุรักษ์(Conservation) คือ การที่เด็กตอบตามที่ตาเห็น โดยที่ยังไม่ใช้เหตุผลและสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
1.การพับ
2.การจับคู่1ต่อ1
3.การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร
4.เรียงลำดับ
5.จัดกลุ่ม
ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของบรูเนอร์
- ขั้นการเรียนรู้จาการกระทำ คือ เด็กจะใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5รับรู้สิ่งต่างๆโดยการลงมือกระทำ เพื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดี
- ขั้นเรียนรู้จากความคิด คือ เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
- ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม คือ เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของไวก๊อตสกี้
ทฤษฎีของเขาเชื่อว่า เด็กได้รับการสนับสนุนโดยผู้อื่นผ่านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เด็กจะเข้าหาผู้ใหญ่เพื่อพัฒนาทางสังคมตั้งแต่แรกเกิด แล้วพัฒนาการก็เกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์เหล่านี้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสภาพแวดล้อมของเขาและของเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน เมื่อกระบวนการเหล่านี้ เกิดจากภายในก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จจากพัฒนาการของเด็ก
แนวความคิดหนึ่งที่มีความสำคัญที่สุดก็คือ เด็กกำลังเริ่มจะก้าวข้ามไปและประสบความสำเร็จในระดับที่สูงขึ้นด้วยความช่วยเหลือของผู้อื่นที่มี“สมรรถนะ”มากกว่า โดยการหารือหรือสนทนาระหว่างครูกับเด็กหรือการสนทนาระหว่างผู้ปกครองกับเด็ก
ไวก็อตสกี้พูดถึง“นั่งร้าน”ว่า คือการสนับสนุนของผู้ใหญ่ที่ทำให้เด็กสามารถทำงานสำเร็จได้ ในสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ตามลำพัง เช่น ผู้ใหญ่ช่วยเหลือเด็กวัยเตาะแตะให้เรียนรู้วิธีการเดิน
สรุปจากพัฒนารการด้านสติปัญญาของไวก็อตสกี้ คือ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและความร่วมมือจึงเป็นส่วนผสมสำคัญในกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก
แนวความคิดหนึ่งที่มีความสำคัญที่สุดก็คือ เด็กกำลังเริ่มจะก้าวข้ามไปและประสบความสำเร็จในระดับที่สูงขึ้นด้วยความช่วยเหลือของผู้อื่นที่มี“สมรรถนะ”มากกว่า โดยการหารือหรือสนทนาระหว่างครูกับเด็กหรือการสนทนาระหว่างผู้ปกครองกับเด็ก
ไวก็อตสกี้พูดถึง“นั่งร้าน”ว่า คือการสนับสนุนของผู้ใหญ่ที่ทำให้เด็กสามารถทำงานสำเร็จได้ ในสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ตามลำพัง เช่น ผู้ใหญ่ช่วยเหลือเด็กวัยเตาะแตะให้เรียนรู้วิธีการเดิน
สรุปจากพัฒนารการด้านสติปัญญาของไวก็อตสกี้ คือ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและความร่วมมือจึงเป็นส่วนผสมสำคัญในกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก
และเมื่อเรารู้ถึงพัฒนาการของเด็กแล้วเราก็ควรเลือกเนื้อหาให้เหมาะสมกับทักษะที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
■ ความหมายและประโยชน์ของการเรียนรู้
- การเรียนรู้ คือ กระบวนการของประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
- การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อการอยู่รอดในสังคม
- เครื่องมือของเด็กในการเรียนรู้ คือ ประสาทสัมผัสทั้ง5 ใช้ในการเก็บข้อมูลส่งต่อสู่สมองเพื่อให้สมองซึมซับรับรู้
- เส้นประสบการณ์ที่ซึมซับเก็บไว้หากมีประสบการณ์ใหม่ที่สอดคล้องกับประสบการณ์เส้นเดิมหรือมีสิ่งใหม่ที่แตกต่างเกิดขึ้น สมองก็จะปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่
*หากเด็กเอาความรู้ใหม่ออกมาใช้ด้วยพฤติกรรมใหม่ แสดงว่าเด็กเกิดการเรียนรู้ใหม่*
เพลงที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์
เพลง ขวดห้าใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดสี่ใบวางอยู่บนกำแพง
(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนหมด)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง
เพลง เท่ากัน-ไม่เท่ากัน
ช้างมีสี่ขา ม้ามีสี่ขา
คนเรานั้นหนา สองขาต่างกัน
ช้างม้ามีขา สี่ขาเท่ากัน
แต่กับคนนั้น ไม่เท่ากันเอย
ช้างมีสี่ขา ม้ามีสี่ขา
คนเรานั้นหนา สองขาต่างกัน
ช้างม้ามีขา สี่ขาเท่ากัน
แต่กับคนนั้น ไม่เท่ากันเอย
เพลง บวก-ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ ดูซิเธอรวมกันได้เจ็กใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ ดูซิเธอเหลือเพียงแค่สี่ใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ ดูซิเธอรวมกันได้เจ็กใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ ดูซิเธอเหลือเพียงแค่สี่ใบ
การประเมิน
■ ตนเอง ชอบการเรียนการสอนที่มีเพลงเข้ามามีส่วนร่วมมากๆ ทำให้เกิดความรู้สึกสนุกสนาน
■ อาจารย์ อาจารย์มีวิธีการผ่อนคลายให้นักศึกษาในระหว่างที่เรียนจึงทำให้นักศึกษาไม่ตึงเครียดจนเกินไป และสามารถอธิบายเนื้อหายากๆให้นักศึกษาเข้าใจได้อย่างละเอียด
■ สภาพแวดล้อม บรรยากาศในห้องเรียนค่อนข้างผ่อนคลายไม่ตึงเครียดจนเกินไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น