Red Glittery Cute Ribbon Bow Tie

วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

สรุปงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโต

      ผูวิจัยมีความสนใจศึกษาวากิจกรรมเกมการศึกษาลอตโต จะสงผลตอการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยอยางไร ทั้งนี้เพื่อเปนแนวทางในการสงเสริมและพัฒนาเด็กปฐมวัยตอไป   โดยกลุมตัวอยางที่ใชในการวิจัยครั้งนี้ เปนเด็กปฐมวัยชาย–หญิงอายุ 4–5 ปที่ กําลังศึกษาอยูในชั้นอนุบาลปที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2551 สวนการศึกษาอนุบาลโรงเรียนไผทอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร จํานวน 30 คน

เครื่องมือที่ใชในการศึกษาคนควา มีดังนี้
1. เกมการศึกษาลอตโต จํานวน 60 เกม
2. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร จํานวน 4 ชุด ไดแก
          แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรดานการสังเกตเปรียบเทียบจํานวน 10 ขอ
          แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรดานการจัดหมวดหมูจํานวน 10 ขอ
          แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรดานเรียงลําดับ จํานวน 10 ขอ
          แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรดานการรูคาจํานวน 10 ขอ

ตัวอย่างเกมลอตโต

เกมหนึ่งเดียว 
จุดประสงค 
1.เพื่อฝกทักษะการสังเกตเปรียบเทียบ
 2.เพื่อฝกทักษะการจัดหมวดหมู
 3.เพื่อฝกทักษะการเรียงลําดับ
 4.เพื่อฝกทักษะการรูคาจํานวน
 5.เพื่อใหเกิดความสนุกสนาน
 6.เพื่อใหมีระเบียบวินัยในการจัดเก็บหลังจากเลิกเลนแลว

วิธีเลน
1.นักเรียนศึกษารายละเอียดของภาพในบัตรหลัก แลวนําบัตรยอยที่มีความหมาย ตรงกับภาพในบัตรหลักมาวางลงใน - ภาพสัตวที่อยูสูงที่สุด - จัดหมวดหมูสัตวที่มีลักษณะเหมือนกัน - ภาพที่อยูระหวางมากับสุนัข - นับจํานวนสัตวทั้งหมด
2. เมื่อเลนเกมเสร็จแลวควรจัดเก็บแผนเกมลงในกลอง

อุปกรณ 
1.บัตรหลักขนาด 21 X 30 ซ.ม. จํานวน 1 แผน
2.บัตรยอยขนาด 4 X 8 ซ.ม. จํานวน 8 แผน

สรุปผล
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุงหมายเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยกอนและหลังการทํากิจกรรมเกมการศึกษาลอตโตและเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยในการทํากิจกรรมเกมการศึกษาลอตโตผลการวิจัยพบวา ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรหลังการทดลองสูงกวากอนการทดลอง
สรุปวิดีโอการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เรื่อง สอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยด้วยนิทาน

     นิทานเป็นสิ่งที่เด็กปฐมวัยทุกคนค่อนข้างที่จะชอบและสนใจเป็นอย่างมาก การสอนคณิตศาสตร์ด้วยนิทานจึงถือเป็นวิธีการสอนที่ดีเพราะในเนื้อหานิทานย่อมที่จะสอนคณิตศาสตร์ควบคู่ไปด้วย เช่น เรื่องลูกหมูสามตัว เด็กจะได้รู้ในเรื่องของจำนวนหมูและเด็กจะเกิดการเปรียบเทียบในเรื่องของขนาดตัวลูกหมู ความใหญ่ของบ้าน ความแข็งแรงของบ้าน เป็นต้น ซึ่งการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานจะทำให้เด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างไม่รู้ตัว และทำให้เด็กรู้สึกว่าคณิตศาสตร์ไม่ได้ยากอย่างที่เด็กๆคิด
สรุปบทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เรื่อง สอนคณิตศาสตร์จากชีวิตรอบตัว

     การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไม่ใช่เรื่องยากแต่พ่อแม่มักจะคิดว่าเป็นเรื่องยากเพราะตัวพ่อและแม่เองไม่ชอบคณิศาสตร์ แต่ในความเป็นจริงแล้วคณิตศาสตร์สามารถสอนได้จากสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเด็ก เช่น

สอนตัวเลข 
- ชวนลูกนับสิ่งของรอบตัว เช่น  นับของเล่นลูก นับผลไม้ในถุง นับจำนวนดอกไม้ในบ้าน หรือใกล้ตัวสุดก็นับนิ้วมือ นิ้วเท้าของลูก เริ่มจาก 1-5 ก่อนแล้วเพิ่มเป็น 1-10
สอนขนาด/ปริมาณ/น้ำหนัก/หมวดหมู่ 
- สอนให้ลูกรู้จักขนาดเล็ก-กลาง-ใหญ่/สั้น-ยาว โดยการเรียงของที่ขนาดแตกต่างกันให้ลูกดู เช่น รองเท้าพ่อใหญ่กว่ารองเท้าลูก แม่สูงกว่าลูก  เป็นต้น
สอนรูปทรงต่างๆ
- ของเล่นที่สอนเรื่องรูปทรงได้ดีที่สุด คือ บล็อกไม้ที่มีทั้งทรงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม รวมทั้งสีสัน ขนาด นอกจากนี้ เรายังสามารถสอนรูปทรงได้จากของเล่นและของใกล้ตัวอื่นๆ เช่น ลูกบอล จาน แก้วน้ำ โต๊ะ เป็นต้น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่15

วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2560

     สืบเนื่องมาจากการทำปฏิทินในครั้งที่แล้ว ซึ่งปฏิทินที่เราทำกันนั้นยังมีส่วนที่ยังขาดตกบกพร่องอาจารย์เลยให้เวลานักศึกษาและแก้ไขปฏิทินของแต่ะกลุ่มทำให้เสร็จเรียบร้อย เมื่อเสร็จสมบูรณ์ก็สามารถนำปฏิทินไปใช้ได้จริง

   จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาออกมานำเสนอสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่แต่ละกลุ่มได้ไปคิดและประดิษฐ์ออกมา ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้ตั้งชื่อสื่อการสอนชิ้นนี้ว่า "บิงโกรูปทรง"


อุปกรณ์ที่ใช้ในการประดิษฐ์
- ฟิวเจอร์บอร์ด
- รูปปริ้นท์รูปทรงต่างๆ
- กระดาษแข็ง
- ไม้เสียบลูกชิ้น
- สติ๊กเกอร์สีน้ำตาล
- สติ๊กเกอร์เคลือบงาน
- ฝาน้ำ

วิธีการทำ
1.นำฟิวเจอร์บอร์ดมาตัดเป็นรูปวงกลมและสี่เหลี่ยม
2.ตัดรูปทรงที่ปริ้นท์และนำไปแปะลงบนฟิวเจอร์บอร์ดที่ตัดเป็นรูปวงกลมและฟิวเจอร์บอร์ดสี่เหลี่ยม
3.นำสติ๊กเกอร์มาแบ่งฟิวเจอร์บอร์ดออกเป็นช่องๆ
4.ตัดกระดาษแข็งให้ออกมาเป็นลูกศร
5.นำไม้เสียบลูกชิ้นมาเสียบลงตรงกลางของฟิวเจอร์บอร์ดรูปวงกลมพร้อมทั้งนำลูกศรมาเสียบเข้าไม้เสียบลูกชิ้นและทากาวให้เรียบร้อย

วิธีการเล่น
ครูแจกฟิวเจอร์บอร์ดสี่เหลี่ยมที่มีรูปทรงต่างๆให้กับเด็กๆคนละ1แผ่น จากนั้นให้ครูหรือเด็กเป็นคนหมุนลูกศรที่อยู่ตรงกลางฟิวเจอร์บอร์ดวงกลม เมื่อลูกศรหยุดตรงรูปทรงไหนให้เด็กๆที่มีรูปทรงนั้นวางฝาขวดลงไปในฟิวเจอร์บอร์ด เด็กคนไหนที่วางฝาขวดเต็มแถวแนวนอนก่อนคนนั้นเป็นผู้ชนะ

☆เด็กจะได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเรื่องการคาดคะเนว่าลูกศรจะหยุดลงที่รูปไหน

ประเมินผล
ตนเอง ช่วยเพื่อนในการประดิษฐ์สื่อการสอนพร้อมทั้งช่วยเพื่อนนำเสนอสื่อ
เพื่อน ตั้งใจฟังในสิ่งที่เพื่อนคนอื่นๆกำลังนำเสนอสื่อพร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสื่อต่างๆ
สภาพแวดล้อม เต็มไปด้วยความสนอกสนใจ สื่อแต่ละชิ้นมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก 
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14

วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ.2560

     วันนี้อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มได้ออกมานำเสนอแผนการสอนของตามหัวข้อที่ตนเองได้ตั้งแต่วันจันทร์ - วันศุกร์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสต์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยให้แต่ละส่งตัวแทนที่สอนในแต่ละวันออกมาสอน และให้เพื่อนที่อยู่ในห้องแสดงเป็นเด็ก ซึ่งมีหน่วยการสอนในแต่ละวัน ดังนี้

วันจันทร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง กระเป๋า (ชนิดของกระเป๋า)
วันอังคาร หน่วยการเรียนรู้เรื่อง บ้าน (ลักษณะบ้าน)
วันพุธ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ยานพาหนะ (การดูแลรักษายานพาหนะ)
วันพฤหัสบดี หน่วยการเรียนรู้เรื่อง กระต่าย (ประโยชน์ของกระต่าย) 
วันศุกร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เสื้อ (ข้อพึงระวังของเสื้อ)

☼กลุ่มของข้าพเจ้าได้สอนในวันศุกร์ เรื่องข้อพึงระวังของเสื้อ

ประเมินผล
ตนเอง ได้เป็นคนสอนในวันศุกร์ รู้สึกตื่นเต้นและคิดว่าการทดลองสอนครั้งนี้ค่อนข้างมีสิ่งติดขัดมากมายแต่ทุกอย่างก็ผ่านไปด้วยดีเพราะได้รับคำแนะนำจากอาจารย์
เพื่อน ให้ความร่วมมือในการเป็นเด็กเป็นอย่างดี
สภาพแวดล้อม แต่ละกลุ่มมีการเตรียมของที่ใช้ในการสอนมาอย่างเรียบร้อย
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่13

วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ.2560

     วันนี้อาจารย์ได้ให้เพื่อนๆที่ยังไม่ได้นำเสนอสื่อที่ตนค้นหามา ให้ออกไปนำเสนอพร้อมทั้งให้เพื่อนๆช่วยกันคิดและวิเคราะห์ว่าสื่อที่เพื่อนคนนั้นๆได้นำมาสามารถนำไปใช้ได้กี่วิธี มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง และสามารถนำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้อย่างไร

      หลังจากการนำเสนอสื่อคณิตศาสตร์เสร็จเรียบร้อยแล้วอาจารย์ก็ได้ให้เพื่อนที่ยังไม่ได้นำเสนอบทความ งานวิจัย และวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยออกมานำเสนอ ซึ่งสิ่งที่เพื่อนได้นำเสนอค่อนข้างน่าสนใจเป็นอย่างมาก และอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนตอบคำถามเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ให้กับเด็ก โดยมีคำถามดังนี้

1.การนับ
2.การแยกจำนวนออกจากกลุ่มใหญ่เป็นกลุ่มย่อย
3.การแยกจำนวนออกจากกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มใหญ่
4.การเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า

หลังจากตอบคำถามเสร็จเรียบร้อยแล้วทุกคน อาจารย์ก็ได้ขอดูวิธีการสอนที่นักศึกษาได้ตอบคำถาม พร้อมทั้งอาจารย์ยังได้ชี้แนะวิธีการสอนของแต่ละคนเพื่อให้มองเห็นภาพมากยิ่งขึ้นทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

ประเมินผล
ตนเอง ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอสื่อและคิดว่าสื่อของเพื่อนๆน่าสนใจเป็นอย่างมากเหมาะแก่การนำไปสอนเด็กๆ
เพื่อน ให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างมาก ร่วมกันคิดและตอบคำถามต่างๆ
สภาพแวดล้อม ทุกคนให้ความร่วมมือในการเรียนเป็นอย่างมาก
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12

วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ.2560

     วันนี้อาจารย์ได้แนะนำเกมการศึกษาที่เราสามารถนำมาจากแบบฝึกหัดของเด็กแล้วนำมาทำให้ออกมาในรูปลักษณ์ที่สามารถจับต้องได้ เช่น

เกมจับคู่
   - จับคู่สิ่งที่เหมือนกัน
   


- จับคู่ภาพเงา




เกมการวางภาพต่อปลาย (โดมิโน)
เกมลอตตโต

การประเมินผล
ตนเอง ค่อนข้างที่จะสนใจตัวสื่อที่อาจารย์ได้แนะนำ
เพื่อน สนใจในตัวสื่อกันพอสมควร มีการออกความคิดเห็นว่าควรใช้อุปกรณ์อะไรในการทำสื่อแต่ละอย่าง
สิ่งแวดล้อม เพื่อนมาเรียนกันค่อนข้างน้อยเพราะเพื่อนๆเริ่มทยอยกลับบ้านช่วงวันสงกรานต์
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11

วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2560

หลักสูตร คือ แนวทางในการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา เพื่อให้เด็กมีคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวัย

 ☞ ด้านร่างกาย  กล้ามเนื้อมัดเล็ก,กล้ามเนื้อมัดใหญ่,การเคลื่อนไหวและมีสุขภาพที่ดี
 ☞ ด้านอารมณ์  รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น,แสดงออกทางอารมณ์ได้
 ☞ ด้านสังคม  การช่วยเหลือตนเองได้,อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้,มีคุณธรรมและจริยธรรม
 ☞ ด้านสติปัญญา  ด้านภาษา (การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน) การคิด (คิดสร้างสรรค์และคิดมีเหตุผล)

สาระที่เด็กควรเรียนรู้ : ประสบการณ์ที่สำคัญ
                                    สาระที่ควรเรียนรู้ (เนื้อหา)  ตัวเรา
                                                                              บุคคล สถานที่
                                                                              ธรรมชาติ
                                                                              สิ่งแวดล้อม

 โดยจะต้องคำนึงถึงเรื่องที่เด็กสนใจ เรื่องที่มีผลกระทบกับตัวเด็ก และเรื่องที่สำคัญกับเด็ก

ประเมินผล
ตนเอง พยายามตอบคำถามอาจารย์มากยิ่งขึ้น
เพื่อน เพื่อนบางคนเกิดอาการเบื่อ บางคนก็เกิดอาการง่วงนอน
สภาพแวดล้อม ค่อนข้างเงียบสงบเหมาะแก่การเรียน

วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่10

วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2560

     สัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มทำแผ่นชาร์ตวันใน1เดือน โดยอาจารย์ได้มีอุปกรณ์ต่างๆให้อย่างครบถ้วนซึ่งนักศึกษาสามารถนำมาใช้ได้อย่างเต็มที่ พวกเราเริ่มจากการตัดกระดาษตามสีวันทัง7และได้เขียนชื่อวันต่างๆกำกับลงไปด้วย
     หลังจากนั้นก็ได้ตัดกระดาษสีเพิ่มอีก5ชุด โดยตัดกระดาษ7สี สีละ5แผ่น จนครบ

     หลังจากนั้นก็ได้ลองจัดวางกระดาษที่เขียนวันต่างๆลงในกระดาษแข็งแผ่นใหญ่และกำหนดจุดไว้คร่าวๆเพื่อที่จะได้รู้ว่าต้องตีช่องเท่าไหร่จึงจะสามารถวางกระดาษที่เป็นวันที่ลงไปในกระดาษได้ หลังจากนั้นก็ได้แบ่งหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่มให้ทำหน้าที่ที่หลากหลายกันเพื่อที่จะได้ทำงานเสร็จได้ตามจุดประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ ในสัปดาห์นี้พวกเราทำได้เพียงตัดกระดาษและเตรียมตัวชิ้นงานให้เสร็จเพียงบางส่วน เนื่องจากหมดเวลาทำการเรียนการสอนเสียก่อน พวกเราจึงจะได้นำงานไปทำให้เสร็จในสัปดาห์หน้า




วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่9

วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2560

     สัปดาห์นี้เป็นการนำงานที่ทำเมื่อสัปดาห์ที่แล้วมาส่งอาจารย์โดยการนำไปแปะที่หน้าชั้นเรียน โดยกลุ่มของข้าพเจ้าได้ใส่รายละเอียดต่างๆเป็นที่เรียบร้อย


เสื้อ
1.ชนิดของเสื้อ
- เสื้อยืด
- เสื้อเชิ้ต
- เสื้อโปโล
- เสื้อสายเดี่ยว
- เสื้อเกาะอก
2.ลักษณะของเสื้อ
- เนื้อผ้า
     ● Cotton
     ● Cotton+Polyester
     ● Polyester

- สี

     ● แดง

     ● ส้ม

     ● เหลือง
     ● ม่วง
     ● เขียว
     ● ฟ้า
     ● ดำ
     ● ขาว
- ไซส์
     ● S
     ● M
     ● L
     ● XL
- ส่วนประกอบ
     ● แขนเสื้อ
        ~ แขนยาว
        ~ แขนสั้น 
        ~ แขนกุด
        ~ ไม่มีแขน
     ● คอเสื้อ
        ~ คอกลม
        ~ คอวี
        ~ คอปก
        ~ คอเต่า  
3.การดูแลรักษาเสื้อ
     ● ผ้าCotton ซักด้วยผงซักฟอก ซักมือ ควรผึ่งลมไม่ควรโดนแดด
     ● ผ้าPolyester ซักด้วยผงซักฟอก ควรแยกซักระหว่างผ้าขาวและผ้าสี
4.ประโยชน์ของเสื้อ
     ● ต่อร่างกาย
        ~ ช่วยปกปิดร่างกาย
        ~ ทำให้ร่างกายอบอุ่น ทนต่อสภาพอากาศทั้งร้อนและหนาว
        ~ ประดับตกแต่งร่างกายให้สวยงาม
        ~ เสริมสร้างความมั่นใจและบุคลิกภาพที่ดีให้แก่ผู้ใส่
     ● ต่ออาชีพ
        ~ ช่างเย็บผ้า
        ~ รับซัก-รีด
        ~ เลี้ยงหม่อนไหม
        ~ โรงงานผลิตเสื้อ
        ~ ร้านขายเสื้อ
        ~ ดีไซเนอร์
5.ข้อพึงระวังของเสื้อ
      ● ระวังของแหลมคมเกี่ยวเสื้อ
     ● ควรซักแยกผ้าขาวและผ้าสี
     ● ระวังไม่ให้เสื้อเลอะ
     หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้คำแนะนำเรื่องการจัดวางตัวหนังสือว่าควรที่จะต้องกระจายตัวหนังสือให้เห็นชัดมากกว่านี้ และในส่วนของชนิดของเสื้อจากเสื้อยืดควรเป็นเสื้อคอกลม นอกจากนั้นอาจารย์ถือว่าดีและเรียบร้อยทั้งหมด อาจารย์ได้สั่งการบ้านชิ้นต่อไป คือ ให้แต่ละกลุ่มไปเขียนแผนการสอนของวันจันทร์และคิดว่าเราควรที่จะใช้สื่ออะไรในการสอนเด็กแล้วให้นำมานำเสนอในสัปดาห์ต่อไป

ประเมินผล

ตนเอง ค่อนข้างเข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์ได้ถ่ายทอดให้ฟัง มีตอบคำถามอาจารย์เป็นระยะๆ
เพื่อน ค่อนข้างที่จะให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน
สภาพแวดล้อม อาจารย์ให้คำแนะนำนักศึกษาได้อย่างละเอียดทำให้เข้าใจในสิ่งที่ผิดพลาดมากยิ่งขึ้น
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่8

วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560

     สัปดาห์นี้อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ5คน เพื่อจะให้ออกแบบหน่วยการเรียนของเด็ก ว่าเราอยากให้เด็กเรียนรู้เรื่องอะไร โดยมีหัวข้อที่แต่ละกลุ่มเลือกต้องสอดคล้องกับสาระที่ควรเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งสาระที่ควรเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย มีดังนี้

☆สาระที่ควรเรียนรู้
1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
3.ธรรมชาติรอบตัว
4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก


     โดยที่กลุ่มของข้าพเจ้าได้เลือกข้อที่ 1 ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก หลังจากนั้นข้าพเจ้าและเพื่อนๆในกลุ่มได้ปรึกษาหารือในการเลือกหัวข้อที่อยากจะสอนเด็กว่าหัวข้อไหนเหมาะที่จะนำไปสอนเด็กได้ สรุปหลังจากการพูดคุยหารือกลุ่มของข้าพเจ้าก็ได้เลือกหัวข้อ เสื้อ เมื่อเลือกหัวข้อเสร็จแล้วอาจารย์ได้กำหนดประเด็นที่เราจะต้องนำไปสอนเด็ก โดยแต่ละประเด็นให้แบ่งสอนตั้งแต่วันจันทร์จนถึงวันศุกร์ มีประเด็นต่างๆดังนี้
1.ชนิดของเสื้อ (วันจันทร์)
2.ลักษณะของเสื้อ (วันอังคาร)
3.ประโยชน์ของเสื้อ (วันพุธ)
4.การดูแลรักษาเสื้อ (วันพฤหัสบดี)
5.ข้อพึงระวัง (วันศุกร์)
     หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้แจกกระดาษปรู๊ฟและปากกาเมจิกให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม เพื่อที่จะได้ออกแบบมายแมพกลุ่มของตน หลังจากนั้นอาจารย์ให้นำแผ่นปรู๊ฟของแต่ละกลุ่มมาแปะหน้าชั้นเรียนเพื่อที่อาจารย์จะได้ช่วยให้คำแนะนำว่าเราควรที่จะปรับหรือแก้ไขส่วนใดบ้าง และเมื่อได้แนะนำส่วนที่ต้องแก้ไขเสร็จเรียบร้อยแล้วอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษานำกลับไปทำเป็นการบ้านและนำมาส่งอีกรอบในอาทิตย์หน้า

การประเมิน
ตนเอง ตั้งใจเรียนบางครั้ง อาจจะมีออาการเหม่อลอยหรือขยับตัวบ่อยๆ แต่ก็พยายามตอบคำถามอาจารย์ทุกครั้ง
เพื่อน ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามบ้างเป็นบางคน บางคนอาจจะรู้สึกเบื่อหรือง่วงนอน
สภาพแวดล้อม อาจารย์มีการยกตัวอย่างง่ายๆทำให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2560

สื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

     เนื่องจากสัปดาห์นี้อาจารย์ติดธุระต้องไปราชการที่เขาใหญ่ทำให้ไม่มีการเรียนการสอน อาจารย์จึงให้นักศึกษาไปศึกษาดูสื่อการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ ข้าพเจ้าจึงตัดสินใจเลือกศึกษาดูสื่อที่มีชื่อว่า "มามะ มานับเลขกัน"

อุปกรณ์

1)กระดาษที่บอกจำนวนตัวเลข
                                                         2)ลูกปัด
                                                         3)ลวดกำมะหยี่

วิธีทำ
1)นำกระดาษที่บอกจำนวนตัวเลขมาเจาะรูให้เรียบร้อย
2)จากนั้นนำลวดกำมะหยี่มาพันกระดาษที่เจาะรูไว้แล้ว

วิธีการเล่น
1)นำลวดที่พันกระดาษเรียบร้อยแล้วมาวางเรียง1-10
                                         2)ให้เด็กๆใส่ลูกปัดให้ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในกระดาษ

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่7

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Project Approach 

โครงการที่พี่ๆชั้นปีที่ 5 ได้นำมาจัดนิทรรศการ คือหัวข้อ ในหลวง โดยการดำเนินการของพี่ๆแบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยเริ่มต้นที่ 

☞ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้น ครูและเด็กๆได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิมและตั้งคำถามต่างๆโดยคำถามที่น่าสนใจมากที่สุดคือ ข้าวมาจากไหน?
☞ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา ในระยะนี้ครูได้จัดโครงการขึ้นมา ซึ่งในระยะนี้ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ โดยครูและเด็กๆได้ทำ ไข่พระอาทิตย์ ร่วมกัน
☞ระยะที่ 3 ระยะสรุป ครูเปิดโอกาสให้เด็กได้แลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้รับในการจัดโครงการครั้งนี้ พร้อมกับประเมินผลสะท้อนกลับจากการทำไข่พระอาทิตย์ การที่ได้ทำไข่พระอาทิตย์นั้นทำให้เด็กๆได้รู้ขั้นตอนและวิธีการทำไข่พระอาทิตย์ โดยการทำไข่พระอาทิตย์นั้นได้ใช้หลัก STEM เข้ามาใช้ทำเด็กได้เกิดกระบวนการเรียนรู้

S = Science (วิทยาศาสตร์) ให้เด็กได้สังเกตลักษณะของไข่ก่อนและหลังทอดว่ามีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร เช่น สถานะของไข่ที่เปลี่ยนจากเหลวไปแข็ง
➴T = Technology (เทคโนโลยี) ให้เด็กได้เรียนรู้การทอดไข่โดยการใช้การใช้กระทะไฟฟ้าในการทอดไข่
➴E = Engineering (วิศวกรรมศาสตร์) ให้เด็กได้เลือกส่วนผสมที่จะใส่ในไข่พระอาทิตย์ เช่น แครอท เห็ด มะเขือเทศ ต้นหอม 
➴M = Mathematics (คณิตศาสตร์) เด็กได้เรียนรู้สัดส่วนในการทำไข่พระอาทิตย์ว่าต้องใส่ส่วนผสมต่างๆกี่ช้อนชาหรือกี่ช้อนโต๊ะ









สื่อนวัตกรรมการสอน

เป็นสื่อที่พี่ๆได้ใช้ในการสอนเด็กๆแล้วได้นำมาจัดนิทรรศการ โดยพี่ได้บอกว่า สื่อที่ไม่พังคือสื่อที่ไม่มีคุณภาพ ถ้าสื่อชิ้นใดที่เด็กได้นำมาเล่นหรือได้สัมผัสบ่อยๆ สภาพของสื่อก็จะเกิดการขาดหรือชำรุด แต่ถ้าสื่อยังคงดูสวยงามอยู่ แสดงว่าเด็กไม่จับเล่น ไม่น่าสนใจ



แผนการจัดการเรียนรู้

ในการจัดการเรียนรู้ของรัฐบาลและเอกชนมีความแตกต่างกัน มีวิธีการเขียนแผนการสอนที่แตกต่างกัน แต่ทั้งรัฐบาลและเอกชนต่างก็เน้นที่การส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กเหมือนกัน โดยครูจะไม่สอนให้เด็กหัดอ่าน หัดเขียน เพราะเด็กจะไม่ได้พัฒการทักษะตามที่รัฐบาลและเอกชนกำหนด




การประเมิน
ตนเอง ค่อนข้างสนใจในProject Approachมากเพราะหัวข้อโครงการค่อนข้างน่าสนใจ และได้เรียนรู้กระบวนการจัดทำโครงการ พร้อมทั้งได้เข้าใจหลักSTEMมากยิ่งขึ้น
อาจารย์ มีการสรุปในสิ่งที่พี่ๆได้อธิบายให้พวกเราเข้าใจอย่างกระจ่างมากยิ่งขึ้น
สภาพแวดล้อม การจัดนิทรรศการของพี่ๆแบ่งเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน ดึงดูดความสนใจให้อยากเข้าไปศึกษาหาความรู้

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่6

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

◆ สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย

     ♫สาระที่3เรขาคณิต มาตรฐาน 
     ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง มาตรฐาน 
     ค.ป. 3.2 : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
-ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
การบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งของนั้นๆ
-รูปเรขาคณิตสามมิติ และรูปเรขาคณิตสองมิติ
●ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกระบอก
●รูปทรงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
●การเปลี่ยนแปลงรูปแบบเรขาคณิตสองมิติ
●การสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ





     สาระที่ 4 : พีชคณิต 
     มาตรฐาน ค.ป. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์



     สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 
     มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
-การเก็บข้อมูลและการนำเสนอ
การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย

     สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 
     การแก้ปัญหา การให้เหคุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

การประเมิน
ตนเอง สามารถตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้บ้างบางข้อ ส่วนข้อที่ยังตอบไม่ได้ก็จะพยายามศึกษาให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นและจะตอบคำถามทุกครั้งที่อาจารย์ถาม
อาจารย์ มีการยกตัวอย่างในแต่ละหัวข้อเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากยิ่งขึ้น
สภาพแวดล้อม เงียบสงบและมีแสงสว่างเหมาะกับการทำการเรียนการสอน


วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

     ◆ ความรู้เชิงคณิตศาสตร์
     แบ่งออกเป็น4ประเภท
-ความรู้ทางกายภาพ
-ความรู้ทางสังคม
-ความรู้เชิงตรรกะศาสตร์
-ความรู้เชิงสัญลักษณ์

     ●ความรู้ทางกายภาพ (Physical Knowledge)  เป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกตสิ่งต่างๆ  ด้วยการรับรู้จากประสาทสัมผัส  เช่น  สี  รูปร่างลักษณะ  ขนาด

     ●ความรู้ทางสังคม (Social Knowledge)  เป็นความรู้ที่ได้รับจาการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น  เป็นสิ่งที่เราได้รับจากการเรียนรู้  เช่น  
                                         หนึ่งสัปดาห์มี 7 วัน  
                                         หนึ่งเดือนมี  28  29  30  หรือ  31  วัน  
                                         หนึ่งปีมี  12  เดือน

     ●ความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์  (Logical-mathematic Knowledge)  เป็นความรู้ที่เกิดจากการเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ  โดยความรู้นี้เกิดจากการสังเกต  สำรวจ  และทดลองกระทำกับสิ่งต่างๆ  เพื่อจัดระบบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านั้น  เช่น  การนับจำนวนสิ่งของกลุ่มหนึ่งและนับได้จำนวนทั้งหมดเท่ากับสี่  ซึ่งจำนวนสี่เป็นค่าของจำนวนสิ่งของทั้งหมดในกลุ่ม  หากแยกออกจากกลุ่มจะไม่ได้มีความหมายเท่ากับจำนวนสี่

     ●ความรู้เชิงสัญลักษณ์  (Symbolic Knowledge)  เป็นความรู้เกี่ยวกับวิธีการแสดงสิ่งที่รู้ด้วยสัญลักษณ์  การเกิดความรู้นี้ต้องอาศัยการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับสิ่งนั้นและสามารถสร้างเป็นความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์โดยมีความเข้าใจในสิ่งนั้นอย่างชัดเจนจนสามารถนำสิ่งอื่นหรือสัญลักษณ์มาแทนได้  เช่น  เมื่อนับจำนวนผลไม้ 8 ผลในตะกร้า  แล้ววาดภาพวงกลมให้เท่ากับจำนวนผลไม้  โดยเขียนตัวเลข 8 แทนจำนวนผลไม้ทั้งหมด  

      ◆ สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล  มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้  
     สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
     สาระที่ 2 : การวัด 
     สาระที่ 3 : เรขาคณิต
     สาระที่ 4 : พีชคณิต
     สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 
     สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

     ♫ สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง  
จำนวน
การใช้จำนวนบอกปริมาณ
การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
การเปรียบเทียบจำนว
การเรียงลำดับจำนวน
- การรวมและการแยกกลุ่ม
ความหมายของการรวม
การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่ผลไม่เกิน10
ความหมายของการแยก
การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน10

      ♫ สาระที่ 2 : การวัด มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
- ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
เปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
เปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
เปรียบเทียบปริมาตร/การตวง
(กาเปรียบเทียบต้องมีจุดเริ่มต้นที่เท่ากันเสมอ)
- เงิน
ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร
- เวลา
ช่วงเวลาในแต่ละวัน เช่น ช่วงเช้า ช่วงบ่าย ช่วงเย็น
ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน

การประเมิน
ตนเอง มีการโต้ตอบกับอาจารย์เวลาอาจารย์ตั้งคำถามมากยิ่งขึ้น การเรียนในคาบนี้ทำให้เข้าใจความรู้เชิงคณิตศาสตร์มากยิ่งขึ้น
อาจารย์ อาจารย์มีความใจเย็นในการอธิบายเนื้อหาต่างๆให้นักศึกษาเข้าใจเป็นอย่างดี และมีเพลงมาคั่นระหว่างการเรียนการสอนเพื่อไม่ให้นักศึกษาเบื่อในระหว่างเรียน
สภาพแวดล้อม บรรยากาศในห้องเรียนค่อนข้างเงียบสงบเหมาะกับการเรียนการสอน