Red Glittery Cute Ribbon Bow Tie

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

     ◆ ความรู้เชิงคณิตศาสตร์
     แบ่งออกเป็น4ประเภท
-ความรู้ทางกายภาพ
-ความรู้ทางสังคม
-ความรู้เชิงตรรกะศาสตร์
-ความรู้เชิงสัญลักษณ์

     ●ความรู้ทางกายภาพ (Physical Knowledge)  เป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกตสิ่งต่างๆ  ด้วยการรับรู้จากประสาทสัมผัส  เช่น  สี  รูปร่างลักษณะ  ขนาด

     ●ความรู้ทางสังคม (Social Knowledge)  เป็นความรู้ที่ได้รับจาการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น  เป็นสิ่งที่เราได้รับจากการเรียนรู้  เช่น  
                                         หนึ่งสัปดาห์มี 7 วัน  
                                         หนึ่งเดือนมี  28  29  30  หรือ  31  วัน  
                                         หนึ่งปีมี  12  เดือน

     ●ความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์  (Logical-mathematic Knowledge)  เป็นความรู้ที่เกิดจากการเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ  โดยความรู้นี้เกิดจากการสังเกต  สำรวจ  และทดลองกระทำกับสิ่งต่างๆ  เพื่อจัดระบบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านั้น  เช่น  การนับจำนวนสิ่งของกลุ่มหนึ่งและนับได้จำนวนทั้งหมดเท่ากับสี่  ซึ่งจำนวนสี่เป็นค่าของจำนวนสิ่งของทั้งหมดในกลุ่ม  หากแยกออกจากกลุ่มจะไม่ได้มีความหมายเท่ากับจำนวนสี่

     ●ความรู้เชิงสัญลักษณ์  (Symbolic Knowledge)  เป็นความรู้เกี่ยวกับวิธีการแสดงสิ่งที่รู้ด้วยสัญลักษณ์  การเกิดความรู้นี้ต้องอาศัยการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับสิ่งนั้นและสามารถสร้างเป็นความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์โดยมีความเข้าใจในสิ่งนั้นอย่างชัดเจนจนสามารถนำสิ่งอื่นหรือสัญลักษณ์มาแทนได้  เช่น  เมื่อนับจำนวนผลไม้ 8 ผลในตะกร้า  แล้ววาดภาพวงกลมให้เท่ากับจำนวนผลไม้  โดยเขียนตัวเลข 8 แทนจำนวนผลไม้ทั้งหมด  

      ◆ สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล  มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้  
     สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
     สาระที่ 2 : การวัด 
     สาระที่ 3 : เรขาคณิต
     สาระที่ 4 : พีชคณิต
     สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 
     สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

     ♫ สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง  
จำนวน
การใช้จำนวนบอกปริมาณ
การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
การเปรียบเทียบจำนว
การเรียงลำดับจำนวน
- การรวมและการแยกกลุ่ม
ความหมายของการรวม
การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่ผลไม่เกิน10
ความหมายของการแยก
การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน10

      ♫ สาระที่ 2 : การวัด มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
- ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
เปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
เปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
เปรียบเทียบปริมาตร/การตวง
(กาเปรียบเทียบต้องมีจุดเริ่มต้นที่เท่ากันเสมอ)
- เงิน
ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร
- เวลา
ช่วงเวลาในแต่ละวัน เช่น ช่วงเช้า ช่วงบ่าย ช่วงเย็น
ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน

การประเมิน
ตนเอง มีการโต้ตอบกับอาจารย์เวลาอาจารย์ตั้งคำถามมากยิ่งขึ้น การเรียนในคาบนี้ทำให้เข้าใจความรู้เชิงคณิตศาสตร์มากยิ่งขึ้น
อาจารย์ อาจารย์มีความใจเย็นในการอธิบายเนื้อหาต่างๆให้นักศึกษาเข้าใจเป็นอย่างดี และมีเพลงมาคั่นระหว่างการเรียนการสอนเพื่อไม่ให้นักศึกษาเบื่อในระหว่างเรียน
สภาพแวดล้อม บรรยากาศในห้องเรียนค่อนข้างเงียบสงบเหมาะกับการเรียนการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น