Red Glittery Cute Ribbon Bow Tie

วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

สรุปงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโต

      ผูวิจัยมีความสนใจศึกษาวากิจกรรมเกมการศึกษาลอตโต จะสงผลตอการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยอยางไร ทั้งนี้เพื่อเปนแนวทางในการสงเสริมและพัฒนาเด็กปฐมวัยตอไป   โดยกลุมตัวอยางที่ใชในการวิจัยครั้งนี้ เปนเด็กปฐมวัยชาย–หญิงอายุ 4–5 ปที่ กําลังศึกษาอยูในชั้นอนุบาลปที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2551 สวนการศึกษาอนุบาลโรงเรียนไผทอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร จํานวน 30 คน

เครื่องมือที่ใชในการศึกษาคนควา มีดังนี้
1. เกมการศึกษาลอตโต จํานวน 60 เกม
2. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร จํานวน 4 ชุด ไดแก
          แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรดานการสังเกตเปรียบเทียบจํานวน 10 ขอ
          แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรดานการจัดหมวดหมูจํานวน 10 ขอ
          แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรดานเรียงลําดับ จํานวน 10 ขอ
          แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรดานการรูคาจํานวน 10 ขอ

ตัวอย่างเกมลอตโต

เกมหนึ่งเดียว 
จุดประสงค 
1.เพื่อฝกทักษะการสังเกตเปรียบเทียบ
 2.เพื่อฝกทักษะการจัดหมวดหมู
 3.เพื่อฝกทักษะการเรียงลําดับ
 4.เพื่อฝกทักษะการรูคาจํานวน
 5.เพื่อใหเกิดความสนุกสนาน
 6.เพื่อใหมีระเบียบวินัยในการจัดเก็บหลังจากเลิกเลนแลว

วิธีเลน
1.นักเรียนศึกษารายละเอียดของภาพในบัตรหลัก แลวนําบัตรยอยที่มีความหมาย ตรงกับภาพในบัตรหลักมาวางลงใน - ภาพสัตวที่อยูสูงที่สุด - จัดหมวดหมูสัตวที่มีลักษณะเหมือนกัน - ภาพที่อยูระหวางมากับสุนัข - นับจํานวนสัตวทั้งหมด
2. เมื่อเลนเกมเสร็จแลวควรจัดเก็บแผนเกมลงในกลอง

อุปกรณ 
1.บัตรหลักขนาด 21 X 30 ซ.ม. จํานวน 1 แผน
2.บัตรยอยขนาด 4 X 8 ซ.ม. จํานวน 8 แผน

สรุปผล
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุงหมายเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยกอนและหลังการทํากิจกรรมเกมการศึกษาลอตโตและเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยในการทํากิจกรรมเกมการศึกษาลอตโตผลการวิจัยพบวา ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรหลังการทดลองสูงกวากอนการทดลอง
สรุปวิดีโอการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เรื่อง สอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยด้วยนิทาน

     นิทานเป็นสิ่งที่เด็กปฐมวัยทุกคนค่อนข้างที่จะชอบและสนใจเป็นอย่างมาก การสอนคณิตศาสตร์ด้วยนิทานจึงถือเป็นวิธีการสอนที่ดีเพราะในเนื้อหานิทานย่อมที่จะสอนคณิตศาสตร์ควบคู่ไปด้วย เช่น เรื่องลูกหมูสามตัว เด็กจะได้รู้ในเรื่องของจำนวนหมูและเด็กจะเกิดการเปรียบเทียบในเรื่องของขนาดตัวลูกหมู ความใหญ่ของบ้าน ความแข็งแรงของบ้าน เป็นต้น ซึ่งการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานจะทำให้เด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างไม่รู้ตัว และทำให้เด็กรู้สึกว่าคณิตศาสตร์ไม่ได้ยากอย่างที่เด็กๆคิด
สรุปบทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เรื่อง สอนคณิตศาสตร์จากชีวิตรอบตัว

     การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไม่ใช่เรื่องยากแต่พ่อแม่มักจะคิดว่าเป็นเรื่องยากเพราะตัวพ่อและแม่เองไม่ชอบคณิศาสตร์ แต่ในความเป็นจริงแล้วคณิตศาสตร์สามารถสอนได้จากสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเด็ก เช่น

สอนตัวเลข 
- ชวนลูกนับสิ่งของรอบตัว เช่น  นับของเล่นลูก นับผลไม้ในถุง นับจำนวนดอกไม้ในบ้าน หรือใกล้ตัวสุดก็นับนิ้วมือ นิ้วเท้าของลูก เริ่มจาก 1-5 ก่อนแล้วเพิ่มเป็น 1-10
สอนขนาด/ปริมาณ/น้ำหนัก/หมวดหมู่ 
- สอนให้ลูกรู้จักขนาดเล็ก-กลาง-ใหญ่/สั้น-ยาว โดยการเรียงของที่ขนาดแตกต่างกันให้ลูกดู เช่น รองเท้าพ่อใหญ่กว่ารองเท้าลูก แม่สูงกว่าลูก  เป็นต้น
สอนรูปทรงต่างๆ
- ของเล่นที่สอนเรื่องรูปทรงได้ดีที่สุด คือ บล็อกไม้ที่มีทั้งทรงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม รวมทั้งสีสัน ขนาด นอกจากนี้ เรายังสามารถสอนรูปทรงได้จากของเล่นและของใกล้ตัวอื่นๆ เช่น ลูกบอล จาน แก้วน้ำ โต๊ะ เป็นต้น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่15

วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2560

     สืบเนื่องมาจากการทำปฏิทินในครั้งที่แล้ว ซึ่งปฏิทินที่เราทำกันนั้นยังมีส่วนที่ยังขาดตกบกพร่องอาจารย์เลยให้เวลานักศึกษาและแก้ไขปฏิทินของแต่ะกลุ่มทำให้เสร็จเรียบร้อย เมื่อเสร็จสมบูรณ์ก็สามารถนำปฏิทินไปใช้ได้จริง

   จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาออกมานำเสนอสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่แต่ละกลุ่มได้ไปคิดและประดิษฐ์ออกมา ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้ตั้งชื่อสื่อการสอนชิ้นนี้ว่า "บิงโกรูปทรง"


อุปกรณ์ที่ใช้ในการประดิษฐ์
- ฟิวเจอร์บอร์ด
- รูปปริ้นท์รูปทรงต่างๆ
- กระดาษแข็ง
- ไม้เสียบลูกชิ้น
- สติ๊กเกอร์สีน้ำตาล
- สติ๊กเกอร์เคลือบงาน
- ฝาน้ำ

วิธีการทำ
1.นำฟิวเจอร์บอร์ดมาตัดเป็นรูปวงกลมและสี่เหลี่ยม
2.ตัดรูปทรงที่ปริ้นท์และนำไปแปะลงบนฟิวเจอร์บอร์ดที่ตัดเป็นรูปวงกลมและฟิวเจอร์บอร์ดสี่เหลี่ยม
3.นำสติ๊กเกอร์มาแบ่งฟิวเจอร์บอร์ดออกเป็นช่องๆ
4.ตัดกระดาษแข็งให้ออกมาเป็นลูกศร
5.นำไม้เสียบลูกชิ้นมาเสียบลงตรงกลางของฟิวเจอร์บอร์ดรูปวงกลมพร้อมทั้งนำลูกศรมาเสียบเข้าไม้เสียบลูกชิ้นและทากาวให้เรียบร้อย

วิธีการเล่น
ครูแจกฟิวเจอร์บอร์ดสี่เหลี่ยมที่มีรูปทรงต่างๆให้กับเด็กๆคนละ1แผ่น จากนั้นให้ครูหรือเด็กเป็นคนหมุนลูกศรที่อยู่ตรงกลางฟิวเจอร์บอร์ดวงกลม เมื่อลูกศรหยุดตรงรูปทรงไหนให้เด็กๆที่มีรูปทรงนั้นวางฝาขวดลงไปในฟิวเจอร์บอร์ด เด็กคนไหนที่วางฝาขวดเต็มแถวแนวนอนก่อนคนนั้นเป็นผู้ชนะ

☆เด็กจะได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเรื่องการคาดคะเนว่าลูกศรจะหยุดลงที่รูปไหน

ประเมินผล
ตนเอง ช่วยเพื่อนในการประดิษฐ์สื่อการสอนพร้อมทั้งช่วยเพื่อนนำเสนอสื่อ
เพื่อน ตั้งใจฟังในสิ่งที่เพื่อนคนอื่นๆกำลังนำเสนอสื่อพร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสื่อต่างๆ
สภาพแวดล้อม เต็มไปด้วยความสนอกสนใจ สื่อแต่ละชิ้นมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก 
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14

วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ.2560

     วันนี้อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มได้ออกมานำเสนอแผนการสอนของตามหัวข้อที่ตนเองได้ตั้งแต่วันจันทร์ - วันศุกร์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสต์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยให้แต่ละส่งตัวแทนที่สอนในแต่ละวันออกมาสอน และให้เพื่อนที่อยู่ในห้องแสดงเป็นเด็ก ซึ่งมีหน่วยการสอนในแต่ละวัน ดังนี้

วันจันทร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง กระเป๋า (ชนิดของกระเป๋า)
วันอังคาร หน่วยการเรียนรู้เรื่อง บ้าน (ลักษณะบ้าน)
วันพุธ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ยานพาหนะ (การดูแลรักษายานพาหนะ)
วันพฤหัสบดี หน่วยการเรียนรู้เรื่อง กระต่าย (ประโยชน์ของกระต่าย) 
วันศุกร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เสื้อ (ข้อพึงระวังของเสื้อ)

☼กลุ่มของข้าพเจ้าได้สอนในวันศุกร์ เรื่องข้อพึงระวังของเสื้อ

ประเมินผล
ตนเอง ได้เป็นคนสอนในวันศุกร์ รู้สึกตื่นเต้นและคิดว่าการทดลองสอนครั้งนี้ค่อนข้างมีสิ่งติดขัดมากมายแต่ทุกอย่างก็ผ่านไปด้วยดีเพราะได้รับคำแนะนำจากอาจารย์
เพื่อน ให้ความร่วมมือในการเป็นเด็กเป็นอย่างดี
สภาพแวดล้อม แต่ละกลุ่มมีการเตรียมของที่ใช้ในการสอนมาอย่างเรียบร้อย
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่13

วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ.2560

     วันนี้อาจารย์ได้ให้เพื่อนๆที่ยังไม่ได้นำเสนอสื่อที่ตนค้นหามา ให้ออกไปนำเสนอพร้อมทั้งให้เพื่อนๆช่วยกันคิดและวิเคราะห์ว่าสื่อที่เพื่อนคนนั้นๆได้นำมาสามารถนำไปใช้ได้กี่วิธี มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง และสามารถนำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้อย่างไร

      หลังจากการนำเสนอสื่อคณิตศาสตร์เสร็จเรียบร้อยแล้วอาจารย์ก็ได้ให้เพื่อนที่ยังไม่ได้นำเสนอบทความ งานวิจัย และวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยออกมานำเสนอ ซึ่งสิ่งที่เพื่อนได้นำเสนอค่อนข้างน่าสนใจเป็นอย่างมาก และอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนตอบคำถามเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ให้กับเด็ก โดยมีคำถามดังนี้

1.การนับ
2.การแยกจำนวนออกจากกลุ่มใหญ่เป็นกลุ่มย่อย
3.การแยกจำนวนออกจากกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มใหญ่
4.การเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า

หลังจากตอบคำถามเสร็จเรียบร้อยแล้วทุกคน อาจารย์ก็ได้ขอดูวิธีการสอนที่นักศึกษาได้ตอบคำถาม พร้อมทั้งอาจารย์ยังได้ชี้แนะวิธีการสอนของแต่ละคนเพื่อให้มองเห็นภาพมากยิ่งขึ้นทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

ประเมินผล
ตนเอง ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอสื่อและคิดว่าสื่อของเพื่อนๆน่าสนใจเป็นอย่างมากเหมาะแก่การนำไปสอนเด็กๆ
เพื่อน ให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างมาก ร่วมกันคิดและตอบคำถามต่างๆ
สภาพแวดล้อม ทุกคนให้ความร่วมมือในการเรียนเป็นอย่างมาก
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12

วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ.2560

     วันนี้อาจารย์ได้แนะนำเกมการศึกษาที่เราสามารถนำมาจากแบบฝึกหัดของเด็กแล้วนำมาทำให้ออกมาในรูปลักษณ์ที่สามารถจับต้องได้ เช่น

เกมจับคู่
   - จับคู่สิ่งที่เหมือนกัน
   


- จับคู่ภาพเงา




เกมการวางภาพต่อปลาย (โดมิโน)
เกมลอตตโต

การประเมินผล
ตนเอง ค่อนข้างที่จะสนใจตัวสื่อที่อาจารย์ได้แนะนำ
เพื่อน สนใจในตัวสื่อกันพอสมควร มีการออกความคิดเห็นว่าควรใช้อุปกรณ์อะไรในการทำสื่อแต่ละอย่าง
สิ่งแวดล้อม เพื่อนมาเรียนกันค่อนข้างน้อยเพราะเพื่อนๆเริ่มทยอยกลับบ้านช่วงวันสงกรานต์